บริษัทมุ่งบริหารการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชน โดยมีเป้าหมายสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า บริษัทได้มีการประเมินและจัดลำดับความสำคัญของคู่ค้าทางธุรกิจตามกระบวนการทางธุรกิจ (Business Partnership Directory) โดยเบื้องต้นวัดจากมูลค่าการค้า ระหว่างบริษัทและคู่ค้า หลังจากนั้นจะพิจารณาแบ่งแยก คู่ค้าที่สำคัญ ตามลักษณะการให้บริการในห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาผลกระทบ(Impact) ถ้าเกิดบริษัทไม่สามารถรับบริการจากคู่ค้าดังกล่าว บริษัทสามารถจัดหาคู่ค้ารายอื่นทดแทน ได้หรือไม่ (Substitute) ซึ่งจะยังคงสามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า เพื่อใช้ในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าในเชิงกลยุทธ์ หลังจากนั้นบริษัทจะประมาณการความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นจากห่วงโซ่อุปทาน และแบ่งแยกตามลักษณะความเสี่ยง และจัดทำแผน การบริหารจัดการความต่อเนื่อง (business continuity management (BCM))
จากการวิเคราะห์ คู่ค้าที่สำคัญ ผลกระทบต่อกระบวนการทำงาน อยู่ในเกณฑ์ที่ สูง สำหรับ main process ซึ่งประกอบด้วยเหมือง ,เรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ,เรือลำเลียงขนส่งสินค้าในประเทศ,เครื่องมือหนัก และรถขนส่งสินค้า เนื่องจากเป็นกระบวนการหลักของบริษัท อย่างไรก็ตามความสามารถในการหาคู่ค้ารายอื่นมาทดแทน(substitute) ก็ อยู่ในเกณฑ์ที่ สูง เช่นกัน เนื่องจากบริษัทมุ่งมั่นในการหาคู่ค้ารายอื่นๆเพื่อทดแทนอยู่เสมอ เพื่อป้องการความเสี่ยงจากการพึ่งพิงคู่ค้าน้อยราย ยกเว้นเรือลำเลียง (Lighter) ซึ่งปริมาณเรือลำเลียงในแม่น้ำ ยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการเนื่องจาก ความต้องการใช้เรือลำเลียง เพิ่มขึ้นเป็นแบบฤดูกาล อาทิเช่น ฤดูที่สินค้าเกษตรออก หรือช่วงที่การผลิตปูนซีเมนต์ล้นตลาด และต้องการส่งออกเป็นต้น ทำให้บางช่วงเรือลำเลียงมีความเสี่ยงที่จะไม่เพียงพอได้ จึงทำให้บริษัทมีโครงการลงทุนในธุรกิจเรือลำเลียงของตัวเองจำนวน 8 ลำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่เพียงพอของเรือลำเลียง และส่งผลให้เกิดค่าปรับ ถ้าไม่มีเรือลำเลียงไปรับสินค้าจากเรือใหญ่ (Vessel) ทันเวลา และทำให้สินค้าไปส่งถึงลูกค้าไม่ทันเวลา และได้มีการจัดตั้งบริษัท เอจีอี มารีน โลจิสติกส์ จำกัด เพื่อบริหารจัดการเรือลำเลียงของบริษัท รวมทั้งการบริหารจัดการ ธุรกิจเรือลำเลียงจากพันธมิตรอีกด้วย รวมทั้งการจัดตั้งบริษัท วินเนอร์ 789 โลจิสติกส์ จำกัด ร่วมกับพันธมิตรการขนส่งทางบก (บริษัทถือหุ้น 70%) เพื่อบริหารจัดการ การขนส่งทางบกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น